เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (Understanding Goal):

เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตกระบวนการได้มาของผ้าและเห็นความสัมพันธ์กับวิถีและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสามารถ ออกแบบตัดเย็บ ประดิษฐ์ ซ่อมแซม งานผ้าให้เกิดมูลค่าได้อย่างสร้างสรรค์

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Main

Mind Mapping





Topic :ผ้าทอชีวิตแห่งความดีงาม
Main Idea : ผ้ามีวิวัฒนาการและกระบวนการได้มาที่หลากหลายมีความสอดคล้องต่อวิถีชีวิตของคนทุกยุคสมัย และเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์
Big  Question :
ผ้ามีกระบวนการผลิตและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของแต่ละชุมชนอย่างไรเราจะออกแบบ ประดิษฐ์ ตัดเย็บ ซ่อมแซม และสร้างสรรค์มูลค่าได้อย่างไร
ภูมิหลังของปัญหา
                ปัจจุบันการทอผ้าใช้เองจาก ผ้าฝ้าย ผ้าไหม เริ่มลดลงไปตามยุคตามสมัยผู้คนที่ต้องการความสะดวกสบายหันไปใช้เสื้อผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์ในระบบอุตสาหกรรมทำให้วิถีดั้งเดิมในเรื่องของการทอผ้าใช้เอง ความงดงามของการของกระบวนการผลิตผ้าพื้นเมืองกำลังค่อยๆสูญหายไป นักเรียนบางคนไม่รู้จักที่มาของผืนผ้าพื้นเมือง การได้มาของเส้นใยแต่ละชนิด ซึ่งส่งผลให้ขาดทักษะการดูแลรักษา การซ่อมแซม รวมทั้งการประยุกต์หรือนำกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า
                ดั้งนั้น จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จึงสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการได้ของผ้าพื้นเมือง ตั้งแต่การเลี้ยงหนอนไหม รวมทั้งกระบวนการต่างๆจนสำเร็จเป็นผืนผ้า รวมทั้งสามารถ ออกแบบ ประดิษฐ์ ตัดเย็บ ซ่อมแซมและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผ้าใช้เองได้อย่างคุ้มค่า
เป้าหมาย(Understanding Goal):

เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตกระบวนการได้มาของผ้าและเห็นความสัมพันธ์กับวิถีและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสามารถ ออกแบบตัดเย็บ ประดิษฐ์ ซ่อมแซม งานผ้าให้เกิดมูลค่าได้อย่างสร้างสรรค์





ปฏิทินการเรียนรู้
หน่วย ผ้าทอชีวิตแห่งความดีงาม
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 Quarter 2 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2558

Week
Input
Process
Output
Outcome
1

โจทย์ วางแผนการเรียนรู้

Key Questions :
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง?
- ทำไมนักเรียนจึงอยากเรียนรู้หัวข้อนั้น?
- นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Think Pair Share
- Blackboard Share
- Mind Mapping
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- คลิปวีดีโอ “การเลี้ยงหนอนไหมของพี่ๆ ป.3"
- คลิปเพลง “เสื้อแห่งความสุข”
- การสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดความอยากเรียนรู้ เปิดคลิป “หนอนไหมที่นักเรียนเลี้ยงใน Quarter 1
- ครูเปิดเพลงและเล่นกีตาร์พานักเรียนร้องเพลงเกี่ยวกับผ้า
เสื้อแห่งความสุข
- นักเรียนเลือกหัวข้อที่นักเรียนสนใจเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือการคิด Card and Chart
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ร่วมกัน โดยผ่านเครื่องมือการคิด Think Pair Share
การบ้าน เขียนสิ่งที่รู้แล้วและคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ความรู้ก่อนเรียนรู้ Mind Mapping
- วางแผนปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกัน
- นำเสนอปฏิทินของกลุ่ม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- Card and Chart หัวข้อที่อยากเรียนรู้
- วาดภาพตกแต่งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับชื่อหน่วยการเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
ความรู้
-   สามารถพูดอธิบายตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
-   เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมาย และสร้างสรรค์

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
2
โจทย์ กระบวนการได้มาของเส้นใย ลายผ้าและการมัดย้อม

Key Questions :
-     เส้นใยผ้าแต่ละชนิดมีกระบวนการได้มาเหมือนหรือต่างกันย่างไรบ้าง?
-     ลายผ้าแต่ละชนิดเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตเราอย่างไรบ้าง?
-     ถ้าไม่มีสีสังเคราะห์ นักเรียนจะย้อมผ้าให้มีลวดลายได้อย่างไร?
  
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Web
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- คลิปวีดีโอ “การผลิตเส้นใยผ้า จากขวด PET” และ “ขั้นตอนการผลิตด้าย”
- สื่อจริง เส้นใย เส้นด้าย ไหมพรม ใยสังเคราะห์ สีย้อม ลูกโป่ง
- สีย้อมผ้า สีย้อมจากธรรมชาติ
กิจกรรม

- นักเรียนดูคลิป “การผลิตเส้นใยผ้า จากขวด PET” และ “ขั้นตอนการผลิตด้าย”

- นักเรียนสังเกตและแยกประเภทเส้นใยจากผ้าหลากหลายชนิดตามความเข้าใจ พร้อมนำเสนอ

- นักเรียนประดิษฐ์ โคมไฟเส้นด้าย
- นักเรียนสังเกตลายผ้าต่างๆ (ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ฯลฯ)
- ผู้ปกครองมาให้ความรู้เกี่ยวกับการมัดย้อมเส้นไหม (เส้นไหมจาก Quarter 1)
- ออกแบบและวางแผนมัดย้อมผ้า (รวมทั้งเส้นไหม)
- ลงมือปฏิบัติมัดย้อมผ้า (เสื้อ)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
* กิจกรรมที่ใช้เวลานาน นักเรียนจะทำในเวลาว่างหรือนำกลับไปทำต่อที่บ้าน
ชิ้นงาน
-  Web แยกประเภทเส้นใยจากผ้า
- โคมไฟเส้นด้าย/งานไหมพรม เช่น ผ้าพันคอ ถักเสื้อ
- เสื้อมัดย้อม ผ้ามัดย้อม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการจัดประเภทเส้นใยผ้า
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเส้นใยของผ้าแต่ละชนิด
- ออกแบบการมัดย้อมผ้าของตนเอง


ความรู้
เข้าใจกระบวนการได้มาซึ่งเส้นใย ออกแบบลายผ้าอย่างสร้างสรรค์ และวิธีการย้อมสีผ้า อีกทั้งสามารถประยุกต์วัสดุที่มีในธรรมชาติมาเป็นสีย้อมผ้าได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
3
โจทย์ วางแผนและออกแบบการทอผ้า
(นวัตกรรมใหม่ในการทอผ้า)

Key Questions :
-   อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้ามีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรและจะสามารถนำอุปกรณ์ในท้องถิ่นมาใช้ทดแทนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?
-   ถ้าไม่มีกี่ทอผ้า เราจะมีวิธีผลิตผ้าได้อย่างไรบ้าง?         
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- สื่อจริง เส้นด้าย เส้นใยผ้า
- ผู้ปกครองสร้างการเรียนรู้ “กระบวนการทอผ้า” (เส้นไหมจาก Quarter 1)
- ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนการทอผ้า
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ขั้นตอนการทอผ้าและวิธีการทอผ้า
- นักเรียนคิดนวัตกรรมใหม่ในการทำเส้นด้ายให้เป็นผืนผ้า เช่น ผ้าพันคอ แผ่นรองแก้ว เข็มขัด กำไลมือ ถักเสื้อ จากไหมพรม
- ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
หมายเหตุ
นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเย็บผ้าแบบต่างๆ จากกิจกรรมจิตศึกษา แก้ไปเย็บไป เช่น การเนา ด้นถอยหลัง สอย
ชิ้นงาน
-   สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ขั้นตอนการทอผ้าและวิธีการทอผ้า
-   งานไหมพรม เช่น ผ้าพันคอ แผ่นรองแก้ว เข็มขัด กำไลมือ ถักเสื้อ
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการทำเส้นด้ายเป็นผืนผ้า
-   ทอผ้าไหม
ความรู้
เข้าใจและอธิบายหน้าที่ของอุปกรณ์การทอผ้าแต่ละชิ้น และสามารถออกแบบ วางแผนการทอผ้า อีกทั้งนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการถักทอผ้าแบบอื่นๆ ได้อย่างสร้างสรรค์

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
4
โจทย์ งานประดิษฐ์จากผ้า


Key Questions :
-          นักเรียนจะออกแบบตัดเย็บผ้าให้ใช้งานได้จริงได้อย่างไรบ้าง?
-          การเย็บผ้าวิธีใดทำให้ผ้าที่เย็บใช้งานได้นานที่สุด?
-          การเย็บแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง?
                                  
เครื่องมือคิด :
-  Brain Storms
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
-อุปกรณ์การเนา เข็ม
-อุปกรณ์การตัดเย็บ
- ศึกษาขั้นตอนเกี่ยวกับงานประดิษฐ์จากผ้าแบบต่างๆ จากคุณครูและผู้รู้
- ออกแบบและให้ความรู้ตัดเย็บ ผ้า เป็นผ้ากันเปื้อน หมวกคลุม
- ผู้ปกครองอาสาให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบตัดเย็บเสื้อจากผ้ามัดย้อม ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเนาเท่ากัน การเนาไม่เท่ากัน การด้นถอยหลัง การสอย เป็นต้น
- ลงมือปฏิบัติ “การออกแบบตัดเย็บเสื้อ ผ้ากันเปื้อน จากผ้ามัดย้อม”
* นักเรียนสามารถเลือกและนำเสนอสิ่งที่ตนเองสนใจ อยากทำเองได้และต้องใช้งานได้จริง
Show and Share นำเสนอผลงาน
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
-   ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุม
เสื้อจากผ้ามัดย้อม
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ออกแบบการตัดเย็บเสื้อผ้าของตนเอง
- ออกแบบการตัดเย็บผ้ากันเปื้อน
ความรู้
เข้าใจและสามารถออกแบบตกแต่งผ้าให้มีคุณค่าและสร้างสรรค์ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หลายหลาก รวมทั้งนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเย็บผ้ามาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
5
โจทย์ ลายปักผ้า

Key Question :
นักเรียนจะสร้างสรรค์ลวดลายนูนลงบนผืนผ้าได้อย่างไรบ้าง?

เครื่องมือคิด :
-Show and Share
-Brain storms

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- คลิปวีดีโอ “การปักผ้า”
- สื่อจริง เข็ม ด้าย สะดึง

- ชมคลิป “การปักผ้า”
- สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปักผ้าในแบบต่างๆ
- ออกแบบวาดภาพบนผืนผ้าเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชน
- ลงมือปฏิบัติ  งานปักผ้า (ปักแบบด้นถอยหลัง ลูกโซ่   เนาเท่ากัน เนาไม่เท่ากัน) 
- Show and Share นำเสนอผลงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- งานปักผ้า (ปักแบบด้นถอยหลัง ลูกโซ่ เนาเท่ากัน เนาไม่เท่ากัน )
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-    สนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการทำลายนูนลงบนผืนผ้า
-    ออกแบบลายปักผ้าและลงมือปักผ้า
ความรู้
สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานผ้า มาประยุกต์ใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้าโดยวัสดุอุปกรณ์ที่หลายหลาก

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น
6
โจทย์  การดูแลรักษา และการซ่อมแซมเสื้อผ้า

Key Questions :
-        นักเรียนจะมีวิธีการดูแลรักษาผ้าที่สวมใส่แต่ละชนิดอย่างไรบ้าง?
-        เครื่องหมายสัญลักษณ์ในเสื้อผ้าเกี่ยวข้องอย่างไรกับเสื้อผ้าตัวนั้น?

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking
สื่อ/อุปกรณ์ :
- เศษผ้าสำหรับปะ
- เข็มและด้าย
- กรรไกรตัดผ้า
- เข็มหมุด
กิจกรรม
- เตรียมอุปกรณ์ในการซักผ้า
-  ศึกษาชนิดของผ้า  การทำความสะอาด การดูแลรักษา การเก็บรักษา   ผ้าแต่ละชนิด
-  ลงมือปฏิบัติการทำความสะอาดเสื้อผ้า (การซักผ้า   การรีดผ้า แบบเรียบ แบบมีกลีบ)
ลงมือปฏิบัติ การพับเสื้อผ้า การเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเดินทางที่ถูกต้อง
-  ลงมือปฏิบัติซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด เช่น การรังดุม   การปะผ้า
- ศึกษาค้นคว้าเครื่องหมายสัญลักษณ์ในเสื้อผ้า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยการชุน การปะ การด้น การเนา และการสอย
- การ์ตูนช่องสัญลักษณ์บนเสื้อผ้า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลรักษา และการซ่อมแซมเสื้อผ้า


ความรู้
เข้าใจและอธิบายวิธีการทำความสะอาด การดูแลรักษา การซ่อมแซม การเก็บรักษาผ้าแต่ละชนิดให้ใช้งานได้คุ้มค่าที่สุด  อีกทั้งเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์บนเสื้อผ้า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง
7
โจทย์ การเพิ่มมูลค่าจากผ้าเหลือใช้

Key Question :
 นักเรียนจะมีวิธีการเพิ่มมูลค่าจากเศษผ้าที่มีอยู่แต่ละชนิดอย่างไรได้บ้าง?

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน

สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- สื่อจริง เศษผ้า กระสอบ
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าและเศษผ้าที่มีอยู่
- ทำชิ้นงานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าและเศษผ้าที่มีอยู่ เช่น  โบว์ สมุดทำมือ
ที่คาดผม  กระเป๋า  เบาะรองนั่ง  พรมเช็ดเท้า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- นักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อเรียนรู้กระบวนการทอผ้าจากสถานที่จริง

ชิ้นงาน
-   ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า เช่น  โบว์  
สมุดทำมือ ที่คาดผม  กระเป๋า  เบาะรองนั่ง  พรมเช็ดเท้า
-   สรุปบรรยายความรู้ที่ได้จากการทัศนศึกษา
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษผ้าที่มีอยู่
ร่วมกันวางแผนการเพิ่มมูลค่าเป็นชิ้นงานต่างๆ
- ตั้งคำถามสิ่งที่อยากรู้ก่อนไปทัศนศึกษา
ความรู้
มองเห็นคุณค่าของเศษผ้าเหลือใช้ สามารถนำมาสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เป็นของใช้ หรือสินค้า                           ที่จำหน่ายได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง
8
โจทย์ ธุรกิจและอาชีพ

Key Question :
 นักเรียนจะนำเสนอสินค้าอย่างไรให้น่าสนใจและสร้างสรรค์?

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Round Robin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- ร้านบานเช้า
- สื่อจริง เศษผ้า กระสอบ
-คลิป I Plus SMEs

- ชมคลิป “I Plus SMEs บวกความคิด ต่อยอดทางธุรกิจ ธุรกิจเสื้อผ้า 12 tree EP03

-  เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการออกแบบและผลิตสินค้าจากผ้า ที่ร้านบานเช้าในโรงเรียน
- วางแผนการตลาด เลือกสินค้าที่เหมาะสมแก่การจำหน่ายและสถานที่จำหน่ายโดยถ่ายทอดการวางแผนผ่านการวาดภาพและเขียนบรรยาย
* นักเรียนขายสินค้าที่ตลาดใกล้บ้าน
- สรุป Show and Share นำเสนอผลงานการขายสินค้า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
-   ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า เช่น  โบว์  
สมุดทำมือ
ที่คาดผม  กระเป๋า  เบาะรองนั่ง  พรมเช็ดเท้า
- การ์ตูนช่องสรุปการขายสินค้า
-    สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
วางแผนการตลาด เลือกสินค้าที่เหมาะสมแก่การจำหน่ายและสถานที่จำหน่าย

ความรู้
เข้าใจและสามารถออกแบบการนำเสนอสินค้าและจัดจำหน่ายให้ผู้อื่นรู้จักได้อย่างสร้างสรรค์

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง
9
โจทย์ สรุปองค์ความรู้หลังเรียน

Key Questions :
-   นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?
- นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ ผ้าให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไรบ้าง?
- สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุงมีอะไรบ้าง?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Round Robin
- Card and Chart  
- Show and Share
- Mind Mapping
- Wall Thinking
 
ผู้ร่วมสร้างการเรียน :
-     ครู
-     นักเรียน

บรรยากาศ/สื่อ :
บรรยากาศในห้องเรียน
นักเรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อนำเสนอความจริงเกี่ยวกับหน่วย “ผ้า” เปลี่ยนแปลง มาจัดทำในรูปแบบที่น่าสนใจ (ชาร์ต ,ภาพวาด ,นิทานช่อง)และนำเสนอให้ครูเพื่อนและน้องๆได้รับฟัง
- นักเรียนเขียนสิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่ควรพัฒนาของตนเอง
นำเสนอความเข้าใจหลังเรียนผ่านการจัดนิทรรศการหนังสือนิทานให้เพื่อนๆน้องๆได้ชม
แลกเปลี่ยนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- ครูและนักเรียนสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping หลังเรียน
- สิ่งที่ดีแล้ว/สิ่งที่ควรพัฒนา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอและเผยแพร่องค์ความรู้ทั้ง Quarter นี้
- ถ่ายทอดความเข้าใจสู่ผู้อื่น

ความรู้
- สามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการหน่วย “ผ้า” ให้ผู้อื่นเข้าใจ ชี้ให้เห็นคุณค่า สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- สามารถการวางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น


ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย : “ผ้าทอชีวิตแห่งความดีงาม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 Quarter 2 ภาคเรียนที่ 1/2558

สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคม
ประวัติศาสตร์
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
ศิลปะ
หน้าที่พลเมือง
สร้างฉันทะ/วางแผนการเรียนรู้
- สร้างแรงบันดาลใจ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนเรียน







มาตรฐาน ว 1.2
อธิบายลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว(ว1.2 3/1)
มาตรฐาน  ว 2.1
สำรวจสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก
ห้องเรียนของตนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว
(ว2.1 3/1)


มาตรฐาน ส 2.2
ระบุบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในโรงเรียนและในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธิปไตย
(ส2.2 3/1)
มาตรฐาน ส 4.1
- บอกวันเดือนปีและสามารถนับช่วงเวลาตามปฏิทินเพื่อใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- ลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียนและชุมชนโดยระบุหลักฐานและแหล่งที่มาได้
(ส4.1 3/1)


มาตรฐาน ง 1.1
- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองครอบครัวและส่วนรวม
(ง1.1 3/1)
มาตรฐาน ง 2.1
-เลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์
(ง2.1 3/1)




มาตรฐาน  พ 3.1
-จัดรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบผสมผสานและควบคุมตนเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวตามแบบที่กำหนด (พ3.1 5/1)
มาตรฐาน  พ 5.1
-ปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุในบ้าน โรงเรียน และการเดินทาง แสดงความช่วยเหลือบุคคลอื่นๆเมื่อเกิดเหตุร้ายหรืออุบัติเหตุแสดงวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บจากการเล่นหรือเหตุการณ์อื่นๆ
(พ5.1 3/1-3)
มาตรฐาน  ศ 1.1
-ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างผลงานได้
-วาดภาพระบายสีชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
-วาดภาพถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการสื่อผ่าน เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ได้ (ศ1.1 2/4-5)

มาตรฐาน ส 2.1
-บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(ส2.1 3/2)
จุดเน้นที่ 3
-ปฏิบัติตามกฎระเบียบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียนและในโรงเรียน
(จุดเน้นที่3.1 3/1)
การได้มาของเส้นใย
เส้นใยธรรมชาติ
เส้นใยไหม
- การปลูกหม่อน
- กระบวนการเลี้ยงหนอนไหม
- วงจรชีวิตของหนอนไหม
- วิธีการสาวไหม
เส้นใยสังเคราะห์







มาตรฐาน ว 1.1
อธิบายวัฏจักรชีวิตของหนอนไหมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงหนอนไหมได้
(ว1.1 4/5)
มาตรฐาน ว 2.2
สำรวจทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนแล้วอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนที่สามารถเลี้ยงหนอนไหมได้พร้อมทั้งใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด(ว 2.2 3/1-3)
มาตรฐาน ว 8.1
-ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบเกี่ยวกับการชักใยของเส้นไหมและการได้มาซึ่งเส้นใยสังเคราะห์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้และนำเสนอองค์ความรู้
(ว8.1 3/1)
มาตรฐาน ส 3.1
-      อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมีผลต่อการผลิตเส้นใยไหมและเส้นใยสังเคราะห์ได้
 (ส3.1 3/3)
มาตรฐาน ส 5.1
-      เขียนแผนผังง่ายๆเพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ที่เลี้ยงหนอนไหมของชุมชนได้
(ส5.13/2)
-      ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในชุมชน
(ส5.2  3/5)




มาตรฐาน  ส 4.1
แสดงลำดับเหตุการณ์สำคัญของชุมชนชุมชนที่มีการเลี้ยงหม่อนไหมและการใช้วัสดุสังเคราะห์ในชุมชนผลิตเส้นใยสังเคราะห์ได้
(ส4.1 3/2)


มาตรฐาน ง 1.1
- ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงานในการทำชิ้นงานให้น่าสนใจ  
(ง1.1 3/2)
-     เข้าใจธรรมชาติของท้องถิ่นสามารถนำมาปรับใช้กับกระบวนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอนมีจินตนาการและความคิดอย่างมีระบบในการทำงาน
(ง1.1  3/3)

มาตรฐาน  พ 1.1
เข้าใจธรรมชาติการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์เชื่อมโยงสู่หนอนไหมได้
(พ1.1 3/2)

มาตรฐาน ศ 1.1
-   บรรยายรูปร่างรูปทรง หนอนไหม เส้นไหมและใบหม่อนได้รวมทั้งออกแบบชิ้นงานของตนเองได้
(ศ1.1 3/1)
-   สามารถวาดภาพ ระบายสีหนอนไหม ใบหม่อนโดยใช้เส้น รูปร่าง สี และพื้นผิวได้ รวมทั้งออกแบบชิ้นงานของตนเองได้
(ศ1.1  3/6)
มาตรฐาน  ส 2.1
-ปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวได้
(ส2.1 3/1)

ประเภท/ชนิดของผ้า
ผ้าจากธรรมชาติ
- ผ้าไหม
- ผ้าฝ้าย
- ลินิน
- ขนสัตว์
ผ้าจากการสังเคราะห์
- ผ้าไนลอน
- ผ้ายืด
- ผ้ายีนส์








มาตรฐาน ว 3.1
สามารถจำแนกคุณสมบัติของผ้าแต่ละชนิดพร้อมบอกวัสดุในการประดิษฐ์ผ้าแต่ละชนิดได้อีกทั้งสามารถเลือกใช้ผ้าแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมกับงานต่างๆได้
(ว3.1 3/1-2)


มาตรฐาน ส 3.1
สามารถจำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้สินค้าประเภทผ้าใช้เหตุผลในการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของตนเองครอบครัวและชุมชนในการเลือกซื้อเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมแต่ละชุมชนอีกทั้งใช้สิ่งของเสื้อผ้าที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
 (ส 3.1 3/1-3)
มาตรฐาน ส 2.1
อธิบายวัฒนธรรมการแต่งกายของคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(ส2.1 3/2)

มาตรฐาน ง 1.1
เข้าใจกระการทำงานมีความคิดสร้างสรรค์มีทักษะการจัดการข้อมูลทักษะการแก้ปัญหาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นการแสวงหาความรู้และมีเจตคติที่ดีในการทำงาน
(ง1.1 3/1)
มาตรฐาน  พ 1.1
เลือกใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มได้อย่างเหมาะสมกับสภาพอากาศและสามารถทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่มให้ถูกหลักอนามัยอยู่เสมอ (พ1.1 3/3)

มาตรฐาน ศ 1.1
- สามารถวาดภาพระบายสีสิ่งของรอบตัวได้
- สามารถวาดภาพ อุปกรณ์เครื่องทอผ้าโดยใช้เส้นรูปร่างสีและพื้นผิวได้(ศ1.1 3/1 3/6)
จุดเน้นที่ 3
ปฏิบัติตามกฎระเบียบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียนและในโรงเรียน
(จุดเน้นที่ 33.1 3/1)

การผลิตผ้า
- เลือกวัตถุดิบ
- เตรียมอุปกรณ์
- ขั้นตอนการทอ/ถัก
ผ้าทอ
ผ้าถัก







มาตรฐาน ว 2.1
เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นโดยสามารถสำรวจและตรวจสอบเพื่อที่จะเลือกวัตถุดิบในการผลิตผ้าได้
(ว2.13/1)



มาตรฐาน ส 3.1
สามารถอธิบายเหตุผลการแข่งขันการค้าที่มีผลต่อการผลิตผ้าและเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับธุรกิจผ้า
(ส 3.1 3/1)

มาตรฐาน ส 4.2
เข้าใจและอธิบายความเป็นมาของการทอผ้าที่มีความสัมพันธ์กับชุมชนได้
(ส4.2 3/2)

มาตรฐาน ง 1.1
-    สามารถช่วยตนเองในการทำงานมีกระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองและสามารถช่วยแนะนำและช่วยเหลือผู้อื่นได้
(ง 1.1 3/1)
- ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงานมีความรับผิดชอบเก็บรักษาอุปกรณ์ให้เป็นหมวดหมู่
(ง1.1 3/2)
- สามารถทำงานได้อย่างมีขั้นตอนกระบวนการ
(ง1.1 3/3)
มาตรฐาน พ 3.1
สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะที่ใช้อุปกรณ์ได้
(พ3.1 3/1)

มาตรฐาน ศ 1.1
 สามารถวาดภาพ อุปกรณ์เครื่องทอผ้าโดยใช้เส้นรูปร่างสีได้(ศ1.1 3/1 3/6)
มาตรฐาน ส 2.2
เคารพยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเห็นความสำคัญของบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลและสามารถทำงานกลุ่มร่วมกับคนอื่นได้
(ส2.23/1-3)


ประโยชน์ของผ้า
ต่อตนเอง
-   ตกแต่ง
-   เครื่องนุ่งห่ม
-   เครื่องประดับ
-   ของใช้
ต่อเศรษฐกิจ
ต่ออุตสาหกรรมครัวเรือน







มาตรฐาน ว 3.1
-อธิบายการใช้ประโยชน์ของผ้าแต่ละชนิดเพื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้
 (ว3.13/2)
มาตรฐาน ว 8.1
สามารถเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมกับการทำงานได้
(ว8.1 3/3)



มาตรฐาน ส 3.1
อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมีผลต่อการผลิตผ้าและการบริโภคสินค้าจากผ้า
(ส 3.1 3/3)
มาตรฐาน ส 3.2
-    บอกสินค้าที่เกี่ยวกับผ้าที่รัฐบริการให้แก่ประชาชน
(ส 3.2 3/3)
-    อธิบายเหตุผลการแข่งขันทางการค้าที่มีผลทำให้ผ้ามีราคาสูงขึ้นหรือลดลง
(ส 3.2 3/3)
มาตรฐาน ส 4.2
สามารถสรุปความสำคัญประโยชน์ของผ้าที่สำคัญต่อขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนได้ (ส4.2 3/2)

มาตรฐาน ง 1.1
-ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน (ง1.1 3/2)
- เข้าใจความหมายความสำคัญของประโยชน์ วิธี การขั้นตอนในการทำงานและสามารถทำงานได้ตามขั้นตอนแสวงหาความรู้และวิธีการแก้ปัญหา มีความรับผิดชอบและขยัน
(ง1.1 3/3)

มาตรฐาน พ 2.1
-อธิบายความสำคัญและความแตกต่างของครอบครัว ชุมชนที่มีผลต่อตนเองในการแต่งกาย
(พ2.1 3/1)
-    เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพโดยการเลือกแต่งกายได้อย่างเหมาะสม
(พ4.1 3/5)

มาตรฐาน ศ 1.1
 -บรรยายรูปร่างรูปทรงจากผลิตภัณฑ์ได้(ศ1.1 3/1 )
- ระบุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างผลงานได้
(ศ1.1 3/2 )
-    มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานได้
(ศ1.1 3/5 )

มาตรฐาน ส 2.1
สรุปประโยชน์และปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่นได้
(ส2.1 3/1)


การดูแลรักษาผ้า
- จัดเก็บ
- ซักรีด
- ซ่อมแซม
- ซัก






มาตรฐาน ว 2.2
อภิปรายและนำเสนอใช้ทรัพยากรของผ้าได้อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผ้า
(ว2.2 3/3)
มาตรฐาน ว3.1
-  อธิบายการดูแลรักษาผ้าแต่ละชนิดได้ (ว3.13/3)
มาตรฐาน ส2.1
ระบุสาเหตุของการชำรุดของผ้าเปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่างที่มีผลต่อการดูแลและซ่อมแซมผ้า
(ส2.1 3/1-3)

มาตรฐาน ส 5.2
สามารถอธิบายวิธีการจัดเก็บรักษาผ้าในยุคสมัยต่างๆได้
(ส5.2 3/2)

มาตรฐาน ง 3.1
สามารถนำเทคโนโลยีความรู้มาประยุกต์เพื่อนำมาใช้และดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม
(ง3.1 3/3)

มาตรฐาน พ4.1
เข้าใจและมีทักษะในการดูแลรักษาผ้า
(พ4.1 3/5)
มาตรฐาน ศ1.1
-   ระบุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลรักษาผ้าได้ (ศ1.1 3/2)
- วาดภาพถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการสื่อผ่านเส้น รูปร่าง รูปทรงได้
(ศ1.1 3/6)
จุดเน้นที่ 1
ปฏิบัติตนตามมารยาทไทย
(จุดเน้นที่ 1 1.1 3/1-2)

การออกแบบผลิตภัณฑ์
- ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า
- ตกแต่งเสื้อผ้าของใช้สิ่งประดับจากเศษผ้า
- ออกแบบลวดลายบนผ้า




มาตรฐาน ว 2.2
อภิปรายและนำเสนอการใช้ผ้า ลวดลาย และเศษผ้า อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
(ว2.23/3)
มาตรฐาน ว 3.1
-  จำแนกชนิดและสมบัติของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าและเศษผ้าได้
(ว3.13/1)
-  อธิบายการใช้ประโยชน์ของวัสดุ
แต่ละชนิด
(ว3.1 3/2)
มาตรฐาน ส3.1
สามารถอธิบายเหตุผลการแข่งขันทางการค้าที่มีผลต่อการกำหนดราคาสินค้าและเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับธุรกิจผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
(ส3.1 3/1)

มาตรฐาน ส 4.2
สามารถสรุปความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนในการทอผ้าหรือผลิตภัณฑ์จากผ้า (ส 4.2 3/2)


มาตรฐาน ง 1.1
ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือให้ตรงกับงาน
(ง1.1 3/2)


มาตรฐาน พ3.1
สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายได้ขณะที่ใช้อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ชิ้นงาน
(พ3.1 3/1)
มาตรฐาน  ศ 1.1
วาดภาพถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการสื่อผ่านเส้น รูปร่าง รูปทรง สีได้
(ศ1.1 3/6)

มาตรฐาน ส 2.1
-   สรุปประโยชน์และปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น
(ส 2.1 3/1)
-       บอกพฤติกรรม
การดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรม
ที่หลากหลาย
(ส 2.1 3/2)


วิวัฒนาการของผ้าและการแต่งกาย
ในอดีต ปัจจุบัน
และอนาคต
- รูปแบบลักษณะเสื้อผ้าและการแต่งกาย
-ความต้องการเสื้อผ้าของมนุษย์ในอนาคต






มาตรฐาน ว 2.1
เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นสามารถสำรวจตรวจสอบแหล่งผลิตผ้าในท้องถิ่นอภิปรายความสำคัญของผ้าจากในอดีตจนถึงปัจจุบันวิเคราะห์แนวทางของลักษณะของผ้าในอนาคต
(ว2.1 3/1)
มาตรฐาน ว 8.1
-     แสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มโดยใช้ทักษะกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่การสร้างความรู้นำเสนอจัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจาหรือเขียนและอธิบายกระบวนการและผลงานให้คนอื่นเข้าใจ
 (ว8.1 3/4)
มาตรฐาน ส 5.2
ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
(ส5.2 3/5)


มาตรฐาน ส 4.2
เข้าใจพัฒนาการของมนุษย์ที่มีผลต่อความต้องการในการเลือกใช้ผ้าในอดีตถึงปัจจุบันอีกทั้งคาดการณ์ในอนาคตได้
(ส 4.23/1)



มาตรฐาน ง 1.1
เข้าใจกระบวนการทำงานและการจัดการการทำงานเป็นกลุ่มการแสวงหาความรู้รักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่องาน
(ง 1.1 3/3)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆได้
(ง 3.1 3/1)
- เข้าใจและเห็นคุณค่าในการใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นหาข้อมูลการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้การสื่อสารและแก้ปัญหา
(ง3.1 3/2)

มาตรฐาน พ 4.1
เห็นคุณค่าของการเลือกใส่เสื้อผ้าที่สะอาดเหมาะสมกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
(พ 4.13/5)




มาตรฐาน  ศ1.1
สามารถวาดภาพในการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริงโดยใช้เส้นรูปร่างรูปทรงสีและพื้นผิวได้
(ศ1.13/6)

จุดเน้นที่ 3
ปฏิบัติตามกฎระเบียบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียนและในโรงเรียน
(จุดเน้นที่ 3.1 3/1)

สรุปหน่วยการเรียนรู้
- เผยแพร่ความเข้าใจสู่ผู้อื่น
-Mind Mapping
-สรุปองค์ความรู้หลังการเรียน
-ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
-ประเมินตนเองสิ่งที่ดีแล้ว/สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม







มาตรฐาน ว 2.1
สามารถอธิบายสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเองพร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้
(ว2.1 3/1)
มาตรฐาน ว 8.1
- วางแผนการสังเกตเสนอวิธีตรวจสอบศึกษาวิธีค้นคว้าโดยใช้ความคิดของตนเอง
(ว8.1 3/2)
- เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบบันทึกข้อมูล
(ว8.1 3/3)

- สามารถบันทึกและอธิบายผลการสังเกตสำรวจตรวจสอบโดยเขียนภาพหรือข้อความสั้นๆในการสรุปองค์ความรู้ได้
(ว8.1 3/6)
- สามารถเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ว8.1 3/7)
มาตรฐาน ส 2.1
- สามารถปฏิบัติตามข้อตกลง กติกา กฎระเบียบและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
(ส2.1 3/1)
- เคารพสิทธิของตนเองและไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นในการทำงานร่วมกัน
(ว2.1 3/4)



มาตรฐาน ส 4.1
เรียงลำดับเหตุการณ์และกระบวนการเรียนรู้เรื่องผ้าได้อย่างเป็นระบบ
(ส4.1 3/2)



มาตรฐาน  ง 1.1
- สามารถบอกวิธีทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองในการสรุปองค์ความรู้ได้
(ง1.1 3/1)
- สามารถทำงานของตนเองอย่างกระตือรือร้นและตรงต่อเวลาได้
(ง1.1 3/3)
มาตรฐาน  ง 2.1
มีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ (ง2.1 3/3)
มาตรฐาน  ง 3.1
ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ
(ง3.1 3/1)






มาตรฐาน พ 2.1
สามารถระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองในการเป็นสมาชิกกลุ่มได้
(พ2.1 3/1)
มาตรฐาน พ 3.1
สามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงในการทำงานกลุ่มได้ (พ2.1 3/2)


มาตรฐาน ศ 1.1
- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัว
(ศ 1.1 3/4)
-   มีทักษะพื้นฐานในการใช้อุปกรณ์ต่างๆได้
(ศ 1.1 3/5)
มาตรฐาน ศ 2.1
ร้องเพลงดนตรีง่ายๆเกี่ยวกับผ้าได้
(ศ 1.1 3/4)

มาตรฐาน ส2.2
- เข้าใจและสามารถระบุบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (ส2.2 3/2)
-    มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการตัดสินใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(ส2.2 3/3)